ประวัติศาสตร์เยอรมนี (ค.ศ. 1945–1990)
ประวัติศาสตร์เยอรมนี (ค.ศ. 1945–1990)

ประวัติศาสตร์เยอรมนี (ค.ศ. 1945–1990)

จากความพ่ายแพ้ของนาซีเยอรมนีในสงครามโลกครั้งที่สอง เยอรมนีก็ได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก และเยอรมนีต้องเสียค่าปฏิกรรมสงครามโดยการเสียดินแดนทางตะวันออกของประเทศให้แก่โปแลนด์และสหภาพโซเวียต ในช่วงท้ายของสงครามมีชาวเยอรมนีพลัดถิ่นถึง 8,000,000 คน[1] ส่วนใหญ่ถูกใช้แรงงานและเป็นนักโทษ มีประมาณ 400,000 คนรอบค่ายกักกันอันเข้มงวด[2] ที่รอดชีวิตจากประชาชนจำนวนมากที่เสียชีวิตจากความอดอยาก สภาวะอันโหดเหี้ยม ฆาตกรรม หรือการทำงานที่หนักเกินไปจนมีอันตรายถึงแก่ชีวิต กว่า 10 ล้านผู้ลี้ภัยที่พูดภาษาเยอรมันได้เข้ามาในเยอรมนีจากประเทศอื่น ๆ ในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก[3] ส่วนชาวเยอรมัน 9,000,000 คนถูกจับเป็นเชลยศึก[4] และถูกใช้แรงงานเป็นเวลาหลายปีเพื่อให้ชดใช้ความเสียหายให้กับเยอรมนีที่แพ้สงคราม และอุปกรณ์อุตสาหกรรมบางชิ้นก็ถูกใช้เป็นค่าปฏิกรรมสงครามในช่วงสงครามเย็น เยอรมนีถูกแบ่งเป็น 2 ส่วน คือส่วนของฝ่ายสัมพันธมิตรทางฝั่งตะวันตก และส่วนของสหภาพโซเวียตทางฝั่งตะวันออก ส่วนรัฐบาลเยอรมนีได้เสียงเพียงเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น จนกระทั่ง ค.ศ. 1949 เมื่อมีการก่อตั้งสองรัฐเกิดขึ้น ได้แก่หลังจากได้ประสบกับความมหัศจรรย์ในการพัฒนาเศรษฐกิจในปี ค.ศ. 1955 เยอรมนีตะวันตกกลายเป็นประเทศที่เจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจมากที่สุดในยุโรป ภายใต้การนำของ คอนราด อเดเนาร์ นายกรัฐมนตรี และเยอรมนีตะวันตกก็สร้างความสัมพันธ์อันแข็งแกร่งกับฝรั่งเศส สหรัฐ และอิสราเอล นอกจากนี้เยอรมนีตะวันตกยังได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต) และประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (ภายหลังได้กลายเป็นสหภาพยุโรป) ขณะที่เศรษฐกิจของเยอรมนีตะวันออกหยุดนิ่ง เพราะส่วนใหญ่จัดขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของสหภาพโซเวียต โดยมีสายลับคอยควบคุมอย่างแน่นหนาบริเวณกำแพงเบอร์ลินที่สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1961 ไม่ให้ผู้ลี้ภัยเดินทางไปยังเยอรมนีตะวันตก เยอรมนีกลับมารวมชาติอีกครั้งในปี ค.ศ. 1990 จากการยุบพรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนีที่ปกครองเยอรมนีตะวันออก